เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2563 สอบมีนาคม 2564

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2563 สอบมีนาคม 2564

ข้อ 1 ( 2 )

ข้อ 2 ( 3 )

ข้อ 3 ( 2 )

ข้อ 4 ( 4 )

ข้อ 5 ( 4 )

ข้อ 6 ( 3 )

ข้อ 7 ( 2 )

ข้อ 8 ( 3 )

ข้อ 9 ( 5 )

ข้อ 10 ( 1 )


 

 

 

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

ข้อสอบ

ข้อ 3) ลักษณะการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ ของสาร A  B  และ C ณ ขณะเริ่มต้น เป็นดังภาพ


จากภาพ ข้อใดระบุรูปแบบและทิศทางการลำเลียงสารได้ถูกต้อง (O-net 2563)

ตัวเลือก

ชนิดของสาร

รูปแบบการลำเลียงสาร

ทิศทางการลำเลียง

1

สาร A

การแพร่แบบฟาซิลิเทต

ความเข้มข้นมาก ==> น้อย

2

สาร A

การแพร่แบบธรรมดา

ความเข้มข้นมาก ==> น้อย

3

สาร B

การแพร่แบบฟาซิลิเทต

ความเข้มข้นน้อย ==> มาก

4

สาร B

การแพร่แบบแอกทีฟทรานสปอร์ต

ความเข้มข้นน้อย ==> มาก

5

สาร C

การแพร่แบบฟาซิลิเทต

ความเข้มข้นมาก ==> น้อย

 

 

 

 

เฉลยคำตอบพร้อมคำอธิบาย

คำตอบ (2)

เหตุผล

     พิจารณาจากภาพ การลำเลียงสารจากนอกเซลล์เข้าในเซลล์ สามารถสรุปวิธีการลำเลียงของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของ สาร A, B, C  ได้ดังนี้
     ๐ การลำเลียงสาร A เป็นการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อย จัดเป็นการลำเลียงสารแบบการแพร่แบบธรรมดา

     ๐ การลำเลียงสาร B เป็นการลำเลียงสารผ่านโปรตีนลำเลียง (transport protein)ที่มีความจำเพาะต่อสาร ที่แทรกอยู่ตามเยื่อหุ้มเซลล์ จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ จัดเป็นการลำเลียงสารแบบการแพร่แบบฟาซิลิเทต

     ๐ การลำเลียงสาร C จากภาพเป็นการลำเลียงสารผ่านโปรตีนลำเลียงที่มีความจำเพาะ จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยไปหาบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมาก ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของการลำเลียงสารแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต

      ข้อควรทราบ การลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ตต้องใช้พลังงานจากในเซลล์ โดยการสลายพันธะของ ATP เพียงแต่ในแผนภาพไม่ได้แสดงการใช้ATP แต่สามารถสรุปได้ว่าเป็นการลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต

       จากการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของสาร ทั้ง 3 ชนิด ตัวเลือก ที่ระบุรูปแบบและทิศทางการลำเลียงสารได้ถูกต้อง คือ ตัวเลือกที่ 2

ตัวเลือก

ชนิดของสาร

รูปแบบการลำเลียงสาร

ทิศทางการลำเลียง

2

สาร A

การแพร่แบบธรรมดา

ความเข้มข้นมาก ==> น้อย

 

 
 
 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

[ ข้อ 1 ] / [ ข้อ 2 ] / [ ข้อ 3 ] / [ ข้อ 4 ]/ [ ข้อ 5 ]/ [ ข้อ 6 ]/ [ ข้อ 7 ]/ [ ข้อ 8 ]/

 

[ ข้อ 9 ]/ [ ข้อ 10 ]

 
 
 
 

 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::